6/17/2551

ตำรวจเคาะกะลา ให้หมา ดีใจอีกแล้วครับท่าน




ถ้า​ใครติดตามข่าว​ ​จะ​มี​อยู่​วันหนึ่งที่มีข่าวเกี่ยว​กับ​การเลื่อนยศ
ให้​กับ​ข้าราชการตำ​รวจชั้นประทวน​ ​ที่มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป

เขา​เคาะกะลา​ให้​หมา​ดี​ใจอีก​แล้ว​ ​ซึ่ง​สร้าง​ความ​ฮือฮา​ให้​แวดวงตำ​รวจชั้น​ผู้​น้อยพอสมควร​ ​ครั้งนี้​ไม่​ใช่​ครั้งแรก
ที่มีข่าวลักษณะ​เช่นนี้ออกมา​ ​มีมาหลายครั้ง​แล้ว​ก็​เงียบหายไป​ ​และ​ครั้งนี้ก็คง​จะ​ไม่​แตกต่าง​จาก​ครั้งที่​แล้วๆ​ ​มา​ ​มันก็คง​ต้อง
เป็น​ไป​ใน​รูปแบบเดิม​ ​คน​ให้​ข่าว​เขา​หวังอะ​ไร​ ​บ่อยครั้งที่สำ​นักงานตำ​รวจแห่งชาติ​เปลี่ยนบริหารระดับสูง​ใหม่​
และ​นโยบายลำ​ดับแรก​ ​ๆ​ ​ที่ถูกหยิบยกขึ้นมา​ ​ก็คือ​ ​ข้าราชการตำ​รวจชั้นประทวน​หรือ​ข้าราชการตำ​รวจชั้น​ผู้​น้อยนี่​แหละ
เป็น​ตัวประกอบที่ค่าตัวถูก​ ​และ​ใช้​งาน​ได้​ดี​ ​เดี๋ยวนี้สำ​นักงานตำ​รวจแห่งชาติก็บริหารงานแบบนักการเมือง
คือสร้างนโยบายประชานิยมเหมือน​กัน​ ​บริหารงานแบบคิดเอา​เองเบ็ดเสร็จ​ ​ไม่​เคยถามว่าหน่วยล่าง​ ​ผู้​ใต้​บังคับบัญชา
เขา​ต้อง​การอะ​ไร​ ​แต่​เวลาทำ​อะ​ไรก็​จะ​อ้างเอาตำ​รวจชั้น​ผู้​น้อยนี่​แหละ​ ​เหมือนนักการเมืองมัก​จะ​อ้างประชาชน
เพื่อประ​โยชน์​ส่วน​ตน​และ​พวกพ้องนั่นแหละ

​ใคร​จะ​ว่าท่านเสรีพิสุทธิ์ฯ​ ​ว่า​เป็น​เช่นไร​ ​ท่าน​จะ​ผิด​หรือ​จะ​ถูก​หรือ​ไม่​อย่างไร​ ​ซึ่ง​นักการเมืองก็ตัดสิน​ให้​ท่านไป​แล้ว
ยัง​เหลือแต่การพิสูจน์​ใน​ชั้นศาล​ ​แต่ผมเคารพนับถือท่าน​ ​ใน​ฐานะที่ท่าน​ ​พูดจริงทำ​จริง​ ​ท่านบอกว่าท่าน​จะ​เอาข้าราชการตำ​รวจที่มี
วุฒิปริญญา​ ​มี​ความ​รู้​ ​ใฝ่รู้​ ​ใฝ่​เรียน​ ​มา​เป็น​นายตำ​รวจชั้นสัญญาบัตร​ ​ท่านบอกว่า​จะ​รับบุคคลภายนอกที่มีคุณวุฒิปริญญามา​เป็น​นายสิบตำ​รวจ
เพื่อเตรียมตัว​เป็น​นายตำ​รวจชั้นสัญญาบัตร​ใน​โอกาสต่อไป​ ​ท่านก็ทำ​ตามที่ท่านพูด​ ​ละทำ​ได้​จริง​ ​ๆ​ ​เพื่อขวัญ​และ​กำ​ลังใจของข้าราชการตำ​รวจ
ซึ่ง​ก็​ไม่​ต้อง​ใช้​งบประมาณมา​เหมือนรับตำ​รวจ​ใหม่​เลย​ ​ดีกว่ารับลูกนักการเมือง

ลูกข้าราชการชั้น​ผู้​ใหญ่​เลว​ ​ๆ​ ​มาสร้างปัญหา​ให้​สังคม
ใน​ขณะที่คน​อื่น​พูด​แล้ว​ ​พูดอี​แต่​ไม่​เคยทำ​ ​ไม่​จริงใจ​ ​พอเอา​เข้า​จริง​ ​ๆ​ ​ก็ติดปัญหา​โน่น​ ​ติดปัญหานี่​ ​แทนที่​จะ​คิดว่าทำ​ยัง​ไง​ไม่​ให้​มีปัญหา
แต่กลับไปคิดเอาว่า​ถ้า​ทำ​แบบนี้ปัญหามันคืออะ​ไร​ ​คิด​จะ​หา​แต่ปัญหา​ ​และ​เมื่อไหร่มัน​จะ​หมดปัญหาล่ะ​ ​เมื่อตั้งหน้ตั้งตา​จะ​หาปัญหา
ไม่​ใช่​ตั้งหน้าตั้งตา​แก้ปัญหา​
สุดท้ายก็​..." ​บัวแล้งน้ำ​ "

คราวนี้ก็​... ​เคาะกะลา​ ​เหมือนเดิม
ถ้า​ "ควาย​ไม่​ทอ​ ​ลอกอ​ไม่​หักทับ​ ​หรือ​หมาขี้​เรื้อนขึ้นขน" ​คง​ไม่​ได้​อย่างที่พูด​กัน

6/03/2551

พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑




พ.ร.บ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551

ซึ่งจะทำให้หญิงซึ่งแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสแล้ว

สามารถที่จะเลือกใช้'นาง'หรือ'นางสาว' ได้ตามความสมัครใจ

และหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้วหากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลง

จะใช้คำนำหน้านามว่า 'นาง'หรือ 'นางสาว' ได้ตามความสมัครใจ

โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วัน

นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือประมาณวันที่ 4 มิถุนายน 2551

ส่วนเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ โดยที่การใช้คำนำหน้านามของหญิงที่จดทะเบียนสมรสแล้ว

ต้องใช้คำนำหน้านามว่า'นาง'คำเดียว โดยมิอาจเลือกได้ตามความสมัครใจ

ทำให้เกิดผลกระทบต่อหญิงดังกล่าวในการดำรงชีวิตประจำวัน

อาทิ การประกอบอาชีพ การศึกษาของบุตร และการทำนิติกรรมต่าง ๆ

ส่งผลให้การใช้คำนำหน้านามในลักษณะดังกล่าวของหญิง

มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล

เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศสมควรกำหนดให้หญิงมีทางเลือก

ในการใช้คำนำหน้านามตามความสมัครใจซึ่งเป็นการสอดคล้อง

กับการเลือกใช้นามสกุลตามกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคล

สำหรับรายละเอียดของพ.ร.บ.ฉบับนี้มีดังนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า 'พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑'

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็นอย่างอื่น

ตามที่มีกฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ให้ใช้คำนำหน้านามว่า 'นางสาว'

มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า 'นาง' หรือ

'นางสาว'ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย

ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลง

จะใช้คำนำหน้านามว่า 'นาง'หรือ 'นางสาว' ได้ตามความสมัครใจ

โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว

มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

รักษาการตามตามพระราชบัญญัตินี้


โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551


สิ่งที่ทนที่สุด


...สิ่งที่ทนที่สุด
คือ "หน้า"
สิ่งที่กล้าที่สุด คือ "ใจ"
สิ่งที่ไวที่สุด คือ "ปาก"
สิ่งที่มากที่สุด คือ "อารมณ์"
สิ่งที่คมที่สุด คือ "คำพูด"...